บทความนี้ขอนำเสนอวิธีหาไอเดียเพื่อทำงานส่ง microstock แบบกระชับสำหรับ Vector Artist ทุกคน โดยเฉพาะมือใหม่ หรือมือเก่าเวลาไอเดียตันก็ลองเอาไปใช้กันดู น่าจะทำให้มีอะไรต่อยอดได้อีกสำหรับไอเดีย การขายภาพเวกเตอร์ออนไลน์ ยอมรับว่ามันอธิบายเป็นตัวอักษรค่อนข้างยาก บางอย่างมันก็นามธรรมเกินกว่าจะพูดได้อย่างเดียว ผมต้องพยายามอธิบายออกมาให้เป็นรูปธรรม ให้อ่านแล้วมือใหม่เข้าใจมากที่สุดว่าการหาไอเดีย มันมีจุดเริ่มต้นที่ง่ายมากและบางทีเราอาจจะมองข้ามมันไป
โลกของ Microstock ทุกอย่างมันขายได้หมด
ในกรณีที่เป็นมือใหม่มาก อันดับแรกผมอยากให้คุณคิดก่อนว่างานที่เอาไปส่งใน Microstock นั้น “ทุกอย่างขายได้” คิดแค่นี้ก่อนครับ ถ้าคุณมัวแต่คิดว่า “ทำอะไรถึงจะขายดี” คำนี้บางทีมันไปปิดจินตนาการของคุณอย่างไม่รู้ตัวเอามาก ๆ
ลองนั่งคิดดูสิครับ “ทำอะไรให้ขายดี” คิด คิด คิด คิด คิด คิด เริ่มไกลล่ะ ……….สุดท้าย ไม่ได้ทำ
ลองเปลี่ยนใหม่ ถ้า “ทุกอย่างมันขายได้” นั่นไง นั่นไง !! เริ่มเห็นภาพมาลางๆ แล้วใช่มั้ยครับ
Microstock เปิดรับงานในสเกลที่กว้างมากนะครับ คุณจะมีไอเดียอะไร ทำสไตล์ไหนเขาก็ยินดีรับงานคุณไว้ ตราบใดที่ยังไม่ขัดข้อกำหนดของเว็บ และลูกค้าทั่วโลกนั้นมีความต้องการเอาไปใช้งานในทุกรูปแบบ ทุกประเภทธุรกิจ คนที่ขายมาสักพักบางทีอาจจะเคยรู้สึกว่าภาพนี้ “โหลดเอาไปใช้ทำอะไรวะ”
ผมไม่ได้บอกว่า ไม่ให้ทำภาพที่ขายดี อย่าเพิ่งตีความผิด แต่มันจะยากเกินไปสำหรับมือใหม่ ที่ยังไม่เคยหัดคิดงานแนวนี้ ยิ่งคนที่เพิ่งหัดใช้โปรแกรมจะรู้สึกว่ายิ่งยาก ………..โอเค ผมอยากเริ่มแบบนี้ครับ เอาแบบการหาไอเดียขั้นพื้นฐานที่สุดก่อนเลย คือ
มาดูว่าเราจะหา Idea สร้างงาน vector ได้ยังไง
1. เริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวจับต้องได้
หลายคนมองข้ามสิ่งที่ใกล้ตัว เพราะอะไร ?? เพราะมันใกล้เกินไป จนคุณมองข้ามไงครับ แล้วคุณก็ไปพยายามหาไอเดียที่มันซับซ้อนจนเกินไป จนรู้สึกว่า ยาก, ไม่สนุกเลย, เราจะไหวเหรอ , จะขายได้มั้ย…….
ใจเย็น ๆ ครับ การหาไอเดียที่มันซับซ้อน การสังเกตสิ่งรอบตัว การต่อยอดสิ่งที่เห็นได้มากพอสมควร คุณจะต้องฝึกบ่อย ๆ และมีประสบการณ์พอตัว
กลับมาของง่ายก่อน คำว่าของใกล้ตัว ก็แปลว่า อะไรก็ตามที่คุณเห็น สัมผัส จับต้องได้ สิ่งเหล่านี้มันอยู่รอบตัวคุณทุกวันนั่นแหละ ยกตัวอย่าง Tablet คุณเห็นอยู่ทุกวัน ใช้ทุกวัน จับมาวาดเลยครับ จะวาดเป็นแนวไหนก็ได้ แบบ Object ที่มีมิติ หรือเป็นแบบ Icon ก็ได้ ดัดแปลงให้เป็นภาพหลายประเภทและหลายสไตล์ได้ ยังไงมันก็ขายได้ เพราะความต้องการในการเอาไปใช้มันได้คนละแบบอยู่แล้ว เราไม่รู้ แต่ลูกค้ารู้ว่างานชิ้นนี้เขาจะเอาไปทำอะไรต่อ
2 ภาพด้านบน Tablet กับ TV คุณเห็นทุกวัน ก็นำมาเป็นงานเลยครับ ลูกค้าจะเอาไปใช้ทั้งแบบนี้หรือเอาคอนเทนต์ที่เขามีไปแปะบนจอที่มันว่าง ๆ ก็ได้ อย่างที่บอกครับ ลูกค้ารู้ว่าควรจะทำยังไงกับภาพนี้
อุปกรณ์ต่าง ๆ คุณเห็นอยู่ทุกวัน จับมันมาแปรสภาพให้เป็นงานเวกเตอร์ อยู่ที่เราว่าจะเอามาทำเป็นแนวไหน ภาพนี้ผมทำเป็นสไตล์ Flat Design ถ้ามันเป็นออปเจกชิ้นเล็กชิ้นน้อย ลองจับมารวมกันจะเพิ่มมูลค่าให้ภาพได้มากขึ้น
2. เทคนิคผสมผสาน
เมื่อคุณสร้างภาพเวกเตอร์จากของใกล้ตัว ไปหลายชิ้นแล้ว เรียกว่ามีวัตถุดิบพอสมควร ลองเอาของ 2 อย่างหรือมากกว่านั้น มารวมกัน เมื่อความหมายของ 2 สิ่ง มารวมกัน ก็จะได้ความหมายใหม่ขึ้นมา เกิด concept ใหม่ขึ้นมา ผมเรียกว่า เทคนิคผสมผสาน
มันเหมือนนักวิทยาศาสตร์ ทดลองโน้น นี่ นั่น คิดค้นธาตุใหม่ขึ้นมา
ถ้าตอนที่แล้ว คุณได้วาดของใกล้ตัวไว้จำนวนนึง ให้คุณดูว่ามีอะไรที่สามารถหยิบเอามาไว้ด้วยกัน แล้วเกิดความหมายใหม่ ๆ ขึ้นมา ผมยกตัวอยาง เช่น คุณเห็นถุงกระดาษที่เพิ่งไปช๊อปปิ้งมา วางซุกกันอยู่ เราก็วาดถุงใน Illustrator ได้ 1 ใบ และพอดีก่อนหน้าคุณได้วาดรองเท้าที่วางอยู่ในชั้นวางไปได้ 2 คู่ (เหตการณ์สมมุตินะครับ อาจจะเป็นอะไรก็ได้ แต่แนวทางนี้ครับ)
เอาล่ะ….นี่คือวัตถุดิบชั้นยอด ลองจับมันมาอยู่รวมกันดู คุณจะได้งาน concept ใหม่ขึ้นมา 1 ชิ้น ^^ คุณอาจจะต้องลงมือตกแต่งอะไรเพิ่มเติมไปบ้าง เพื่อให้มันเข้ากับธีม แต่อย่าเพิ่งไปกังวลตรงนั้นเลยครับ เอาองค์ประกอบหลักให้ได้ก่อน
ภาพนี้เป็นการผสมผสานระหว่างภาพมือถือ เอามาปรับแต่งนิดหน่อย และภาพโบเก้ด้านหลังผมก็เคยทำไว้แล้ว เมื่อเอา 2 ภาพมารวมกัน ก็จะได้ภาพใหม่ คอนเซ็ปต์ใหม่ขึ้นมา วิธีการทำภาพโบเก้
ถ้าคุณทำภาพหรือส่งภาพเวกเต
เหมือนกับว่าคุณมีวัตถุดิบม
ในหลายครั้งไอเดียใหม่เกิดจากการต่อยอดและผสมจากสิ่งที่มีอยู่เดิม
3. สร้าง Mind Map
ขยายความคำว่า Mind Map ก่อน มันก็คือการเขียนไอเดียลงไปในกระดาษนั่นแหละครับ แต่ให้สร้างจุดเชื่อมโยงจากไอเดียแรกแตกกิ่งก้านออกไปเรื่อย ๆ เท่าที่คุณจะนึกออก จะใช้การเขียนเป็นคำหรือวาดเป็นภาพง่าย ๆ ก็ได้
คุณอาจจะคิดออกในช่วงเวลาหนึ่ง แต่คุณจะพลาดแน่ถ้าคุณไม่เขียนมันลงไป และอย่ามั่นใจว่าคุณจะจำมันได้ ใน 1 วันคนเรามีเรื่องให้คิดเป็นร้อย ๆ เรื่อง เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งที่คุณคิดมันจะยิ่งเลือนลางมาก การเขียนไอเดียลงในกระดาษเป็นเครื่องการันตีว่า คุณไม่ลืมมันแน่นอน และมันยังมีประโยชน์ในการให้ไอเดียใหม่ ๆ กับคุณในภายหลัง แม้จะเป็นไอเดียเก่าที่คุณเขียนไว้นานแล้วก็ตาม
จะว่าไปมันเป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในงานที่ต้องไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ แต่ผมเรียบเรียงมาให้เหมาะสำหรับมืิอใหม่ที่สามารถเริ่มต้นได้ง่ายและทำได้ทันที การที่คุณจะสร้างงานที่ไอเดียซับซ้อนได้ต้องเริ่มมาจากสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐาน
ขอบคุณหลายๆ ครั้งค่า ^ ^
เพิ่มเติมเนื้อหาแล้วเป็นประโยชน์มากขึ้นอีก
..คงต้องเก็บไว้อ่านบ่อยๆ . ^ ^v
ขอบคุณครับที่ติดตาม ^^
ขอบคุณที่แบ่งปันครับ
ขอบคุณค่ะไอเดียตันจริงอย่างว่าค่ะ…